วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นัดบุกพบรมต. จี้แก้-ราคายาง

EyWwB5WU57MYnKOuFIsqwwT6A6y5MVMJbwkKRs9tNdjy8iqTHU9XDjวันเดียวกัน นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย กล่าวในเวทีเสวนา “อนาคตยางพาราไทยจะไปทางไหน” ที่ มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลาว่า สถานการณ์ยางพาราปี 2557 เลยคำว่าวิกฤติมาแล้ว เพราะตกต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ต้นทุนกิโลกรัมละ 65.25 บาท แต่ขายได้กว่า 30 บาทเท่านั้น การแก้ไขปัญหาที่ทำได้ทันทีคือ การพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมยาง และเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น รัฐบาลอาจกำหนดในทีโออาร์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำยางพาราไปเป็นส่วนผสมการทำถนน เป็นต้น

นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม 16 จ.ใต้ เปิดเผยว่า ภายหลังเข้าพบนายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรฯ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.จะรอดูท่าทีและจะให้โอกาสรัฐบาลแก้ไขปัญหาก่อน คาดว่าหลังปีใหม่จะระดมพลครั้งใหญ่อีก ด้านนายสุคนธ์ สวัสดิภิรมย์ แกนนำเครือข่ายชาวสวนยาง จ.กระบี่ กล่าวว่า เราจะยังไม่เคลื่อนไหว แต่จะเคลื่อนอีกครั้งหลังปีใหม่ หากรัฐบาลไม่สามารถช่วยเหลือได้

ขณะที่นายสิงห์สยาม มุกดา แกนนำเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า ได้นัดเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.ตรัง มาพูดคุยเรื่องปัญหาราคายางพาราวันที่ 12 ธ.ค. ที่โรงแรมวัฒนาพาร์ค จ.ตรัง โดยมี ผวจ.ตรัง สำนักงานเกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ธ.ก.ส. และตัวแทนชาวสวนยางใน จ.ตรัง เข้าร่วม แต่จะยังไม่มีการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลช่วงนี้ เพราะเกรงว่าจะผิดกฎหมายตามกฎอัยการศึก

บางรายอาจเริ่มได้ปีหน้า 3.ผู้ใช้ยางจากประเทศอื่นๆ เตรียมมาลงทุนในไทย 4.การปรับปรุงตลาดยางไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อร่วมกันกำหนดราคายาง จะเริ่มทำได้ภายใน 17 เดือน และ 5.การปรับโครงสร้างยางทั้งระบบหากดำเนินมาตรการทั้งหมดได้รวดเร็ว เชื่อว่าปลายฤดูการผลิตเดือน มี.ค.2558 ราคายางจะดีขึ้นมาก และราคายางปัจจุบันจะปรับตัวสูงขึ้น

ขณะที่นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ตนและอดีต ส.ส.ภาคใต้ รวมถึงอดีต ส.ส.ภาคตะวันออก ได้ทำหนังสือแนะนำ 5 มาตรการส่งถึงนายกฯ ผ่านนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ เพื่อให้รัฐบาลเร่งรัดแก้ไขปัญหายางตกต่ำ อาทิ ให้รัฐบาลยืนยันจะไม่ขายยางในสต๊อกของรัฐให้พ่อค้า เพื่อส่งผลจิตวิทยาให้พ่อค้ารับซื้อยางพาราโดยตรงจากชาวบ้าน ให้กรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงเร่งใช้ยางพาราทำถนนสายใหม่ๆ ทำลานกีฬาในโรงเรียนหรือหน่วยงานรัฐ แต่ 2 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยชี้แจงว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ดังนั้นวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 14.00 น.พวกตนจะขอเข้าพบ รมว.เกษตรฯ ที่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อขอทราบแนวทางแก้ไข

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ...ที่คณะรัฐมนตรีเสนอ โดย สนช.อภิปรายอย่างกว้างขวาง อาทิ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช.กล่าวว่า ขณะนี้ไทยตกลงกับจีนในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทาง กทม.- หนองคาย น่าจะเป็นโอกาสดีในการตกลงทำบราเตอร์– เทรดหรือแลกเปลี่ยนสินค้า และต้องกระตุ้นดีมานต์โดยใช้ยางพาราทำถนนโดยเร่งด่วน ซึ่งที่ประชุม สนช.มีมติวาระ 1 เห็นชอบด้วยคะแนน 174 ต่อ 1 คะแนน และงดออกเสียง 5 คะแนน พร้อมตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณา 25 คน

นายอุดมกล่าวว่า นอกจากนี้จะเพิ่มการส่งออกยางแปรรูปเป็น 20% จากเดิม 12% และลดส่งออกยางรูปแบบวัตถุดิบเหลือ 80% จากปัจจุบัน 88% เนื่องจากส่งออกในรูปแบบยางแปรรูปมีมูลค่าสูงกว่ารูปแบบวัตถุดิบ และยังได้เตรียมโครงการส่งเสริมพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง และจะผลักดันให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมมือกับภาคเอกชน จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา ที่ จ.สงขลา พื้นที่ 1,197 ไร่ เพื่อแปรรูปยางขั้นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายใต้แนวคิดโครงการเมืองยาง คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือน พ.ค.2558 รวมทั้งจะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตสินค้าจากยางรูปแบบใหม่ๆ นอกจากยางรถยนต์ ถุงมือยาง

วันเดียวกัน นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวชี้แจงมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางของรัฐบาลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.การแก้ไขปัญหาในฤดูการกรีดนี้ มี 7 มาตรการ ได้แก่ การสร้างมูลภัณฑ์กันชน เร่งรัดซื้อยางในราคานำตลาด เป้าหมายรวบรวมยางใหม่และเก่าประมาณ 400,000 ตัน และค่อยๆระบายยาง ไม่ให้กระทบตลาดในประเทศ 2.ให้สหกรณ์ซื้อขายยาง ดึงผลผลิตออกจากตลาด 3.ให้เอกชนซื้อยางในตลาดในราคาเป็นธรรม แทรกแซงตลาดล่วงหน้าอย่างเหมาะสม 4.สินเชื่อเพื่อซื้อน้ำยาง 5.ผู้ซื้อจากจีนแสดงเจตนารมณ์ซื้อยางจากไทยอีก 6.สร้างความร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตยางยกระดับราคาและ 7.รัฐกำลังเร่งรัดนำยางไปทำถนน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคายางขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาทช่วงปลายเดือน ธ.ค.ถึงต้นเดือน ม.ค.2558

2.มาตรการที่จะมีผลในภายหลัง มี 5 มาตรการ ได้แก่ 1.เร่งรัดให้สินเชื่อผู้ประกอบการปรับปรุงโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต คาดว่าจะเริ่มช่วงกลางปี 2558 2.นักลงทุนด้านยางพาราจากจีน เตรียมเข้ามาลงทุนในไทย บางรายเริ่มเจรจากับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว

รัฐบาลเต้นชี้แจงเร่งรัดแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ “ปีติพงศ์” ยัน 7 มาตรการชุดแรกดันราคากระเตื้อง กก.ละ 60 บาท ปลาย ธ.ค.นี้ ฟุ้ง 5 มาตรการชุดหลังดึงราคาพุ่ง มี.ค.58 ด้าน สศอ.เข็นสารพัดโครงการอัดฉีดราคากลางปีหน้าขึ้นไป กก.ละ 65 บาท ทั้งปล่อยสินเชื่อ 2.5 หมื่นล้าน รับซื้อยางส่วนเกิน ปล่อยกู้ผู้ประกอบการ ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณใช้ยางในประเทศอีก 5 แสนตันต่อปี ปชป.ยกพลอดีต ส.ส.บุกทวงคำตอบเจ้ากระทรวงเกษตรฯ 15 ธ.ค.แกนนำเครือข่ายชาวสวนยางชะลอการชุมนุมหวั่นผิดกฎอัยการศึก ขู่หลังปีใหม่ ยังเหลวนัดระดมพลครั้งใหญ่แน่

กรณีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคใต้ เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ โดยขอให้รัฐอุดหนุนราคายางกิโลกรัมละ 80 บาทภายในสิ้นปีนี้ หากไม่เป็นผลจะนัดระดมพลชุมนุมครั้งใหญ่

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือราคายางพาราตกต่ำ ตั้งเป้าหมายดันราคายางพาราให้เพิ่มขึ้นภายในกลางปีหน้าอยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท จากปัจจุบัน 40 บาท โดยจะเพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 500,000 ตันต่อปี จากปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตยาง 417,000 ตันต่อปี รวมใช้ยางต่อปีเกือบ 1 ล้านตัน ประกอบด้วย 1.โครงการสินเชื่อเงินทุน หมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นวงเงิน 10,000 ล้านบาท ใช้รับซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบ 200,000 ตัน ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด 2.โครงการสินเชื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 15,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการใช้ปรับปรุงเครื่องจักรเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 300,000 ตัน มีธนาคารออมสินและกระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบ ทั้ง 2 โครงการมีอัตราดอกเบี้ย 5% รัฐบาลชดเชยให้ 3% ผู้ประกอบการชำระ 2%

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: นัดบุกพบรมต. จี้แก้-ราคายาง