วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิษณุแนะแสดงความเห็นต่อกมธ.ฯ

881271เมื่อถามว่า บางฝ่ายเกรงว่า เมื่อมาแสดงความคิดเห็นแล้ว สุดท้ายกรรมาธิการยกร่างฯ จะไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมให้กรรมาธิการเท่านั้น นายวิษณุกล่าวว่า "ถ้าระแวงอย่างนั้น และคิดว่าทำงานกันไม่ได้ก็ไม่ต้องไป แต่ความหมาย คือ กรรมาธิการเจตนาดี เชิญทั้งพรรคการเมืองและที่ไม่เป็นพรรคการเมือง เพราะต้องการฟังความคิดเห็น และ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ส่วนตัวคิดว่า พรรคการเมืองควรให้ความเห็นหากไม่อยากไปก็สามารถส่งหนังสือไปได้กล้องวงจรปิด อย่างน้อยบอกไป เขาจะเอาหรือไม่ก็ตาม  เพราะขณะนี้เป็นช่วงรับฟังความคิดเห็น สำหรับพรรคที่แสดงท่าทีชัดเจน ว่า จะไม่เข้าร่วมนั้น  ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรได้ เพราะเดี๋ยวจะหาว่า ผมไปท้าทายว่า ไม่มาก็อย่ามา  ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น ผมคิดว่ากรรมาธิการฯคงจะไปกราบกราน อยากให้มาแต่ถ้าไม่เพราะติดอะไรก็ตามก็ไม่รู้จะทำอย่างไร "

เมื่อถามว่ากรรมาธิการได้มาปรึกษาอะไรหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีการปรึกษาในนามกรรมาธิการ แต่มีการพบปะพูดคุยกัน เพราะทั้ง 36 คน รู้จักกันทั้งนั้นและเชื่อว่า การร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการยกร่างฯจะทันตามกรอบเวลา และเป็นสัญญาณที่ดีเพราะกำหนดเวลาที่วางไว้โดยใช้คำว่า "ภายใน " ถ้าทำงานเร็วก็อย่าไปทำในวันที่ครบกำหนด ก็สามารถบีบเวลาให้เร็วขึ้นมาได้วันที่ 13 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการแสดงความคิดเห็นของพรรคการเมือง ต่อกรรมาธิการยกร่างรธน.ที่บางพรรคการเมืองระบุว่า ติดคำสั่งของ คสช.ไม่สามารถประชุม เพื่อมีความคิดเห็นในนามของพรรคได้ว่า เรื่องนี้ทำได้ 2 อย่างโดยไม่ต้องอาศัยมติอะไรของพรรค เพราะบางพรรคแสดงความประสงค์ ว่ายินดีเสนอความคิดเห็นแล้ว เพราะขณะนี้หัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคก็มีอยู่สามารถแสดงความคิดเห็นได้  แต่ถ้าเกรงว่าสมาชิกพรรคจะไม่รับรู้ควรมีการพูดคุยในพรรคก่อน ก็สามารถพูดคุยภายในไม่ใช่ลักษณะการประชุมพรรคได้ เพราะถึงอย่างไรก็ไม่ใช่ท่าที่ทางการของพรรค ไม่มีใครเอาไปอ้างอิงว่า แนวทางของพรรคเป็นอย่างนี้ห้ามเปลี่ยนใจภายหลัง เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นเท่านั้น  แต่ถ้าหากจะระดมความคิดภายในพรรค ก่อนแสดงความเห็น ตนว่า หากแจ้งคสช.ไป ก็คิดว่าจะมีการพิจารณาผ่อนผันให้ เหมือนที่ผ่านมามีการผ่อนผัน เพื่อประโยชน์ในการสมัครสมาชิกสปช.

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: วิษณุแนะแสดงความเห็นต่อกมธ.ฯ