
“ รัฐสนับสนุนงบประมาณ เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับคนพิการปีละประมาณ1,500 ล้านบาท แต่คนพิการที่ได้รับอุปกรณ์ไม่ได้ใช้อุปกรณ์หรือไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการ เช่น ขาเทียมที่เชื่อมต่อกับร่างกายไม่พอดี หรือรถเข็นที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่อุปกรณ์ชำรุดแต่ไม่มีระบบซ่อม หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มอีกราว 1,584 ล้านบาทต่อปี ”นายสุรเดช กล่าว และว่า จากการศึกษาพบว่าชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้พิการในระบบประกันสังคมน้อยที่สุดในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำฐานข้อมูลคนพิการร่วมกันและพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพียงชุดเดียว เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมคล้ายกับแนวทางของบัญชียาหลักแห่งชาติ และต้องมีระบบประเมินและติดตามตรวจสอบการแจกจ่ายอุปกรณ์ปรับปรุงระบบการซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรของประเทศวันที่13พ.ย. นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เปิดเผยว่า ไฮแทปได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่องการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์ เครื่องช่วยคนพิการในระบบหลักประกันสังคม พบว่า กลุ่มผู้พิการถูกลิดรอนสิทธิประโยชน์ทางด้านการแพทย์จากเดิมผู้พิการจะอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมอุปกรณ์จำเป็นรวมถึงค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ เพื่อเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้คนพิการเข้าสู่ระบบแรงงาน และจ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราที่เท่ากับคนปกติ แต่สิทธิประโยชน์กลับลดลงทั้งเรื่องการค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการที่หลากหลาย ทั้งทางด้านร่างกาย แขน ขา เรื่องการมองเห็นและการได้ยิน แต่อุปกรณ์ที่ประกันสังคมอนุมัติให้กลับเน้นไปที่อุปกรณ์ทางกายเท่านั้น
แหล่งที่มา : เดลินิวส์