ทั้งนี้ ในการบันทึกข้อมูลจะประกอบด้วยข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลการปลูก การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปและดูแลรักษา การเคลื่อนและขนย้าย การควบคุมระบบความปลอดภัย ข้อมูลปริมาณการผลิต ข้อมูลชุดการผลิต ซึ่งจะทำให้สามารถตามสอบถึงแหล่งผลิตของสินค้า และแหล่งที่สินค้านั้นส่งไปจำหน่าย และสามารถแสดงรายการการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหาได้
และในปี 2558 จะมีการรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้มีการรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ในการนี้เพื่อความได้เปรียบของประเทศไทยจำเป็นจะต้องสร้างศักยภาพและความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเกษตรไทย ซึ่งนอกจากจะต้องมีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยแล้ว การมีระบบการตามสอบสินค้าเกษตรสำหรับผู้ประกอบการจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรแก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พัฒนาระบบการตามสอบสินค้าเกษตรสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการตามสอบสินค้าเกษตรและบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น
และช่วยแก้ปัญหาความปลอดภัยอาหารได้รวดเร็วและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค โดยในปี พ.ศ. 2558 จะมุ่งเน้นไปที่เกษตรกร ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ผัก ผลไม้) ขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ หนองคาย ศรีสะเกษ จันทบุรี ราชบุรี พัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง
แหล่งที่มา : เดลินิวส์