ด้านสื่อสหรัฐฯ รายงานด้วยว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าร่วมสังเกตการณ์และถ่ายภาพการประท้วง ที่เกิดขึ้นในย่านบอสตัน, บรอดเวย์, สวน สาธารณะ เซ็นทรัลพาร์ค และจัตุรัสไทม์สแควร์ ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวในนครนิวยอร์ก โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ระบุว่าการได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงใน สหรัฐฯ ถือเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ และได้เรียนรู้เรื่องการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ นายแดร์ริค โรส นักกีฬาบาสเกตบอลทีมชิคาโกบูลล์สของสหรัฐฯได้ร่วมประท้วงเรียกร้องความเป็น ธรรมแก่นายการ์เนอร์ด้วยการเข้าแข่งขันที่นครชิคาโก และสวมเสื้อทีมพิมพ์ข้อความว่า “ไอ แค้นท์ บรีธ” ซึ่งเป็นคำพูดของนายการ์เนอร์ที่บอกตำรวจว่าหายใจไม่ออก แต่ก็ยังถูกบีบคอและกดทับ จนอาการชักกำเริบเสียชีวิตนางเกว็น คาร์ และนางเอซอว์ การ์เนอร์ มารดาและภรรยาของนายเอริค การ์เนอร์ ชาวอเมริกันผิวสีผู้เสียชีวิตขณะถูกตำรวจนิวยอร์กจับกุมในฐานะผู้ต้องสงสัย ลอบจำหน่ายบุหรี่แบบแบ่งขายในเดือน ส.ค. แถลงขอบคุณผู้ชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมแก่นายการ์เนอร์ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. หลังคณะลูกขุนศาลนครนิวยอร์กตัดสินไม่สั่งฟ้องตำรวจผู้ก่อเหตุ ซ้ำรอยคดีศาลในเมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี ไม่สั่งฟ้องตำรวจผิวขาวซึ่งยิงวัยรุ่นชายไร้อาวุธเสียชีวิตเมื่อเดือน ส.ค. ทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านการเหยียดผิวในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ตั้งแต่ 3 ธ.ค.เป็นต้นมา
แหล่งที่มา : เดลินิวส์