วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตีกรอบศาลรธน. แก้สองมาตรฐาน

EyWwB5WU57MYnKOuFIww4h8mt0kDxeBxmtWSmPlWidhD3ITd5EZjoaตั้ง 7 อรหันต์คุมอัยการสูงสุด

ประธานคณะอนุ กมธ.คณะที่ 8 กล่าวต่อว่า สำหรับองค์กรอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งยังถือเป็นองค์กรตรวจสอบของรัฐ จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบองค์กรอัยการและอัยการสูงสุดด้วย โดยผู้ที่จะมาเป็นกรรมการชุดนี้ต้องไม่เคยเป็นอัยการมาก่อน ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย 4 คน และเป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคม 3 คน รวมเป็น 7 คน มีวาระในตำแหน่ง 2 ปี ทำหน้าที่กำกับดูแล และรับพิจารณาคำอุทธรณ์การใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดด้วย และต้องเผยแพร่ผลการประเมินในสื่อให้สาธารณะทราบด้วย และยังเสนอให้ห้ามอัยการหรืออัยการสูงสุดไปเป็นบอร์ดของรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่นที่ผ่านมา ข้อเสนอทั้งหมดได้เสนอไปยัง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว รอเพียงการพิจารณาในหลักการและกรอบดังกล่าวในวันที่ 11-12 ธ.ค.
สปช.หดอายุตุลาการศาล รธน.อยู่ 5 ปี

ด้านนายวันชัย สอนศิริ สปช.ในฐานะกรรมาธิการ ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงข้อเสนอการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า คณะกรรมาธิการฯได้ข้อสรุปให้แก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจาก 9 ปี เหลือ 5 ปี เนื่องจากเห็นว่าเวลา 9 ปี นานเกินไป ไม่อยากให้มีการฝังรากลึกจนคิดว่าจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีใครกล้าปลด
หั่นอำนาจสกัดทำเกินหน้าที่

นายวันชัยกล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการฯเห็นตรงกันว่าต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า จะให้มีอำนาจพิจารณาเรื่องใดบ้างให้ชัดเจน ไม่ให้มาถกเถียงกันว่า มีการวินิจฉัยเกินอำนาจหน้าที่อีก รวมถึงเรื่องที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน โดยให้มีตัวแทนจากนักกฎหมายมหาชนมาร่วมเป็นด้วย ซึ่งในวันที่ 8 ธ.ค. คณะกรรมาธิการฯ จะประชุมให้ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว และจะส่งข้อเสนอทั้งหมดไปให้นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อส่งต่อให้คณะ กมธ. ยกร่างฯ ต่อไป
ออกกฎห้ามลงมติงดออกเสียง

นายวันชัยกล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯเห็นตรงกันว่า หลักการสำคัญในการปรับปรุงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญคือ 1.ไม่ให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องสองมาตรฐาน 2.ต้องปลอดจากการถูกแทรกแซงทางการเมือง 3.ไม่ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในตำแหน่งฝังรากลึกนานจนเกินไป 4.การลงมติขององค์กรอิสระ จะใช้วิธีงดออกเสียงไม่ได้ เพราะองค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้แสดงความเห็น และชี้ขาดในการลงมติ เพื่อตัดสินลงโทษ จะมางดออกเสียง ลอยตัวเหนือปัญหาไม่ได้ การลงมติงดออกเสียงในองค์กรอิสระจากนี้ต้องไม่มี
พท.ค้านเลือกตรงนายกฯ-ครม.

วันเดียวกัน นายอำนวย คลังผา อดีตประธานวิปรัฐบาล และอดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เชื่อว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล คงมีธงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในใจอยู่แล้ว แต่ส่วนตัวอยากให้นำรัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 มาผสมกันอย่างละครึ่ง สำหรับข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกฯและ ครม.โดยตรงไม่เห็นด้วย เพราะไม่เหมาะสมกับประเพณีไทย เป็นลักษณะการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี ให้ประชาชนเลือกนายกฯผ่าน ส.ส.ในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว ขณะที่ข้อเสนอให้ลดจำนวน ส.ส.เหลือกว่า 300 คน ก็ไม่เหมาะสม น้อยเกินไป ไม่สามารถรับฟังปัญหาของประชาชนได้ทั่วถึง นอกจากนี้ควรให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง ไม่ควรปล่อยให้มีอิสระมากเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความเป็นระเบียบวินัย สิ่งสำคัญที่อยากให้เพิ่มในรัฐธรรมนูญคือ หากพรรคการเมืองใดไม่ยอมส่งผู้สมัคร ส.ส.ลงเลือกตั้ง ต้องถูกยุบพรรค และสมาชิกพรรคต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปีด้วย เพราะเป็นการทำผิดกติกาประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง มีเจตนาไม่ดี
เชียร์โละทิ้งองค์กรอิสระหลังมี รธน.

นายอำนวยกล่าวว่า ในส่วนองค์กรอิสระ ควรลดอำนาจลง ที่ผ่านมาการพิจารณาคดีขององค์กรอิสระมีอำนาจมากเกินไป โดยเฉพาะ ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ สร้างความเสียหายให้กระบวนการยุติธรรมอย่างมาก ควรลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 9 ปี เหลือ 5 ปี เพราะเวลา 9 ปี ถือว่ามากเกินไป ควรให้เกษียณอายุที่ 65 ปี ถ้าอายุมากไปกว่านี้คงทำงานไม่ไหวแล้ว นอกจากนี้เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ควรกำหนดกติกาให้องค์กรอิสระในปัจจุบันทั้งหมด ต้องหมดหน้าที่ไปด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนชุดเก่า เพราะเมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ถือว่ามีกติกาใหม่ ก็ควรให้คนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน
บี้องค์กรอิสระรื้อ กก.สรรหา-ลดวาระ

พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวอีกว่า ส่วนคำถามข้อที่ 12-21 เป็นประเด็นว่าด้วยกระบวนการสรรหา และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคการเมืองส่วนใหญ่เห็นว่าต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการสรรหา โดยมีข้อเสนอให้เปิดกว้างในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหาต้องมีความหลากหลายมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ขณะที่วาระการดำรงตำแหน่ง เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรลดวาระดำรงตำแหน่งลง เช่น กรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าควรปรับลดจากวาระดำรงตำแหน่ง 9 ปี เป็น 5 ปี เป็นต้น
ตัดเหี้ยน ป.ป.ช.-ศาล รธน.-กกต.

ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิก สปช.ในฐานะประธานอนุ กมธ.คณะที่ 8 ว่าด้วยภาค 3 หมวด 2 ในการยกร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการตรวจ สอบการใช้อำนาจรัฐและองค์กรภาคประชาชน กล่าวว่า คณะอนุ กมธ. เห็นพ้องในการลดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร เช่น กรรมการ ป.ป.ช. ที่มีวาระเดิม 9 ปี ให้ลดลงเหลือ 5 ปี หรือ กกต.กลางจากเดิมมีวาระ 7 ปี ให้เหลือวาระแค่ 5 ปีเดียวกัน เพราะที่ผ่านมามีข้อทักท้วงว่าอยู่ในตำแหน่งนานเกินไป
ชงของใหม่สมัชชาธรรมาภิบาล

นายไพบูลย์กล่าวอีกว่า คณะกรรมการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็นกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญจะมีไม่น้อยกว่า 15 คน โดยไม่เน้นว่าต้องเป็นตัวแทนจากองค์กรตุลาการ ศาล และเสนอให้ตัดตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านและประธานรัฐสภาออกจากกรรมการสรรหา แต่ให้เพิ่มจากตัวแทนหลายด้านที่หลากหลายยิ่งขึ้น ผู้ที่ได้รับการเลือกมาเป็นกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญจะมีการประเมินผลทุกปี โดยเสนอให้มีการตั้งสมัชชาคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ทำหน้าที่คัดเลือกองค์กรภาคประชาสังคม อาจเป็นมูลนิธิทำหน้าที่คล้ายองค์กรกลางในอดีต แต่มีหน้าที่มาประเมินผลงานขององค์กรและกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งต้องเผยแพร่ผลงานในสื่อ ฝ่ายรัฐมีหน้าที่ต้องจัดหรือสนับสนุนงบประมาณให้ตามแผนงานงบประมาณประจำปี
เสียงก้ำกึ่งจำกัดวาระ ส.ส.

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ทั้งนี้สรุปผลประเมินตามแบบสอบถามได้ดังนี้ 1.รูปแบบของสภาพรรค การเมืองต่างเห็นด้วยกับรูปแบบ 2 สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มากที่สุด 15 พรรคการเมือง รองลงมาเห็นด้วยกับรูปแบบ 3 สภา คือ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และสภาประชาชน มี 6 พรรค 2.จะให้มีจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คนหรือไม่ มี 13 พรรคการเมืองเห็นด้วยบางส่วน และอีก 8 พรรคระบุว่าเห็นด้วยทั้งหมด 3.วาระดำรงตำแหน่งของ ส.ส. มี 11 พรรค ไม่เห็นด้วยกับการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง อีก 10 พรรค ระบุว่าควรกำหนดให้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อไป
ส่ายหน้า ส.ส.อิสระไม่สังกัดพรรค

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวต่อว่า 4.รูปแบบของการเลือกตั้ง ส.ส.แบบเขต มี 11 พรรคเห็นว่า ควรเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มี 7 พรรคให้เป็นแบบเขตละไม่เกิน 3 คน 5.คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยรวม 13 พรรค ระบุเหตุผลคัดค้าน เพราะต้องการสร้างพรรคการเมืองให้มีความมั่นคง และเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นหลักของระบอบประชาธิปไตย และอีก 4 พรรคเห็นด้วยกับที่ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาพรรคการเมืองไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และ ส.ส.ขาด อิสระในการนำเสนอร่างกฎหมายหรือสิ่งที่เป็น ประโยชน์ 6.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 ม.ค.ของปีที่มีการเลือกตั้ง มี 13 พรรคเห็นด้วย ขณะที่อีก 5 พรรคเห็นด้วยบางส่วน
หัวชนฝานายกฯมาจากระบบสภา

ประธานอนุ กมธ.ประสานรับฟังความเห็นฯ กล่าวอีกว่า 7.การกำหนดวาระดำรงตำแหน่งของ ส.ว. มี 11 พรรคเห็นว่า ต้องกำหนดไม่เกิน 1 วาระส่วนอีก 7 พรรค ระบุว่าไม่ควรกำหนดวาระ 8.การกำหนดให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งและสรรหาเหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2550 มี 10 พรรคเห็นด้วยบางส่วน โดยเห็นว่าควรปรับกระบวนการเลือกตั้งและสรรหาใหม่ โดยเฉพาะ ส.ว.สรรหา ขอให้แบ่งตามสายวิชาชีพ และอีก 9 พรรค ไม่เห็นด้วย 9.การกำหนดให้จำนวน ส.ว.ในแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร มี 14 พรรคเห็นด้วย แต่อีก 6 พรรคไม่เห็นด้วย 10. กระบวน การสรรหา ส.ว.ที่ยึดตามรัฐธรรมนูญ 2550 มี 14 พรรคไม่เห็นด้วย เพราะต้องให้ปรับกระบวนการสรรหา โดยเฉพาะกรรมการสรรหาที่ต้องเปิดกว้างและหลากหลาย โดยให้ยึดโยงกับประชาชน และมี 5 พรรคเห็นด้วยทั้งหมด 11.ถามถึงการเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งสรุปภาพรวมคือ ต้องการให้นายกฯมาจากระบบสภา

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: ตีกรอบศาลรธน. แก้สองมาตรฐาน