วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศึกษาอาเซียนพัฒนาอาชีพเพื่อการอนุรักษ์

897331และจากการสังเกตพบว่าการบริหารจัดการน้ำเพื่อส่งเข้าสู่แปลงเพาะปลูกของที่แห่งนี้จะอาศัยหลักการของแรงโน้มถ่วงโลกเป็นกลไกสำคัญ พร้อม ๆ กับการสร้างเส้นทางน้ำแบบลดหลั่นและทอดแนวตามขวาง ซึ่งลักษณะเช่นนี้นอกจากจะทำให้ทั่วทั้งพื้นที่จะได้รับน้ำอย่างทั่วถึงในช่วงการเพาะปลูกแล้ว ในช่วงฤดูฝนก็จะสามารถลดความแรงของกระแสน้ำได้อีกด้วย อันจะช่วยลดความเสียหายของพื้นที่ทางตอนล่างของแปลงเพาะปลูกได้

นอกจากนี้ในการจัดการของชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ได้มีการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าของเกษตรกรในพื้นที่ ที่มักนิยมตัดไม้เพื่อนำไปจำหน่ายสำหรับการสร้างบ้าน ร้านอาหารและโรงแรมในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาดินถล่มตามมาในช่วงหน้าฝน และก่อเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เพื่อการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวก็ได้มีการฝึกอบรมเกษตรกรให้ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี และทำในพื้นที่เดิม ลดการขยายพื้นที่เพาะปลูก ควบคู่กับการปลูกต้นไม้ในรูปแบบป่าชุมชน ที่เกษตรกรสามารถนำไม้ที่ปลูกไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหา 2 อย่างในเวลาเดียวกัน คือลดสารเคมีที่ปนเปื้อนจากการทำการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำและลดการพังทลายของหน้าดิน และดินถล่ม จากการตัดต้นไม้อีกด้วย

ในโครงการมีการจัดทำกิจกรรมในรูปแบบศูนย์สาธิตเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการในการประกอบอาชีพ การใช้พื้นที่เพื่อการทำกินที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งล่าสุดทางมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระ เกียรติ กฟผ. ได้นำคณะประชาชนชาวไทยที่ร่วมในโครงการย้อนรอบโครงการ 20 ปี โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ กฟผ. และเจ้าหน้าที่ในโครงการปลูกป่าฯ เดินทางเข้าศึกษาดูงาน และเรียนรู้ถึงวิธีการในการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์

ในพื้นที่มีการจัดทำแปลงเกษตรการสาธิตในรูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน โดยปลูกพืชผักแบบผสมผสานที่เอื้อต่อกันในแต่ละประเภทของพันธุ์พืช โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่เป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียนั้นสภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาที่มีทั้งความสูงความลาดชัน โอกาสที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ภัยน้ำหลาก ดินถล่มจะเกิดขึ้นได้หากพื้นที่ขาดซึ่งป่าไม้ที่ทำหน้าที่โอบอุ้มน้ำและหน้าดินไว้ การปลูกพืชแบบเชิงลาดตลอดถึงการวางระบบน้ำให้สามารถส่งเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่องและทั่วทั้งพื้นที่จึงต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดีและถูกต้องตามหลักวิชาการจึงจะบรรลุผลซึ่งที่แห่งนี้นับว่าประสบความสำเร็จในกรณีนี้

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: ศึกษาอาเซียนพัฒนาอาชีพเพื่อการอนุรักษ์