วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศธ.แจงไม่นอนใจดึงครูกลับห้องเรียน

906396ภารกิจของครูจะต้องเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาผู้เรียน แม้แต่การจะการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นก็จะต้องดูผลที่เกิดกับผู้เรียน และการสอนของครูเป็นหลัก ซึ่งต่างจากอดีตที่การขอมีหรือเลื่อนวิทยาฐานะครูสามารถไปทำผลงานวิจัย หรือไปทำงานอื่นๆ เพื่อรวบรวมเป็นเอกสารมาใช้สำหรับประเมินได้เต็มที่ ซึ่งก็จะต้องลดในส่วนนี้ลง และให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์มากขึ้น โดยดูผลจากผลการเรียนของผู้เรียนทั้งก่อนและหลังการสอนของครู ซึ่ง เรื่องนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)พิจารณา และประกาศใช้ต่อไป" ดร.สุทธศรี กล่าว

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า ในระดับอุดมศึกษามีการกำหนดชัดเจน ว่า อาจารย์ต้องมีภาระงานที่เป็นชั่วโมงสอน และภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาผู้เรียนจำนวนกี่ชั่วโมง แต่ในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐานยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเคยมีผู้เสนอว่าภาระงานอื่นที่ไม่ใช่งานสอนของครูไม่ควรเกิน 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ ศธ.จะหาข้อสรุปเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาของชาติ.วันนี้ (11ธ.ค.) ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงผลวิจัยของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ซึ่งพบว่าครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียน ที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนเกือบครึ่งปีการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพเด็กไทย ว่า ศธ.เข้าใจเรื่องนี้ดีและรู้ผลวิจัยมานานแล้ว และได้นำประเด็นนี้มาเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องใส่ไว้ในแผนโรดแม็ปปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศธ. ก็มีนโยบายและแนวทางเน้นการปฏิรูปครูกลับสู่ห้องเรียน ลดภาระงานอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับงานสอน หรือ งานที่ไม่เกี่ยวกับผู้เรียนลง เนื่องจากที่ผ่านมาครูไทยมีภาระงานมาก เมื่อเทียบกับครูในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ซึ่งก็มีผลวิจัยระบุว่า ค่าเฉลี่ยนครูไทยมีภาระงานมาก ทั้งงานธุรการ งานติดต่อประสานงาน บางคนเกินกว่า 60ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของโออีซีดีอยู่ที่ประมาณ 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: ศธ.แจงไม่นอนใจดึงครูกลับห้องเรียน