ส่วนเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น คณะกรรมาธิการฯ เห็นตรงกันว่า ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า จะให้มีอำนาจพิจารณาในเรื่องใดบ้าง ให้ชัดเจน ไม่ให้มาถกเถียงกันว่า มีการวินิจฉัยเกินอำนาจหน้าที่อีก รวมถึงเรื่องที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน โดยให้มีตัวแทนจากนักกฎหมายมหาชน มาร่วมเป็นด้วย ซึ่งในวันที่ 8 ธ.ค. คณะกรรมาธิการฯ จะประชุมให้ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว และจะส่งข้อเสนอทั้งหมดให้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อส่งต่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
นายวันชัย กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ เห็นตรงกันว่า หลักการสำคัญในการปรับปรุงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ คือ 1.ไม่ให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงสงสัย เรื่องสองมาตรฐาน 2.ต้องปลอดจากการถูกแทรกแซงทางการเมือง 3.ไม่ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในตำแหน่ง ฝังรากลึกนานจนเกินไป 4.การลงมติขององค์กรอิสระ จะใช้วิธีงดออกเสียงไม่ได้ เพราะองค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมา เพื่อให้แสดงความเห็น และชี้ขาดในการลงมติ เพื่อตัดสินลงโทษ ดังนั้น จะมาใช้วิธีงดออกเสียง ลอยตัวเหนือปัญหาไม่ได้ การลงมติงดออกเสียงในองค์กรอิสระหลังจากนี้ต้องไม่มี
สปช.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ชงหั่นอายุศาล รธน.เหลือ 5 ปี ชี้ ไม่อยากให้มีอำนาจฝังรากลึกเกินไป วางกฎองค์กรอิสระห้ามลงมติงดออกเสียง
วันที่ 5 ธ.ค. นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงข้อเสนอการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ข้อสรุป ให้แก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ลดเวลาการดำรงตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจาก 9 ปี เหลือ 5 ปี เนื่องจากเห็นว่า เวลา 9 ปีนานเกินไป ไม่อยากให้มีการฝังรากลึกจนคิดว่า จะทำอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีใครกล้าปลด
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ