ข้อควรระวังในการติดตั้งกล้องวงจรปิด
ภาพจากกล้องวงจรปิดมีประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนอย่างมาก เช่น คดีวางระเบิดที่สุขุมวิท 71 (ซอยปรีดีพนมยงค์) ขโมยสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-11 การทะเลาะวิวาทในสถานบริการ การลักทรัพย์ในอาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม กล้องวงจรปิดมีประโยชน์มากแต่ก็มีข้อควรระวังในการจัดหามาใช้งาน ผมได้รับข้อมูลว่ามีบริษัทขายกล้องวงจรปิด บางรายเก็บรหัสในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าของกล้องวงจรปิดทางออนไลน์ไว้ เป็นการส่วนตัวและนำไปเผยแพร่ให้กับลูกค้ารายอื่นได้ทราบโดยไม่ได้รับอนุญาต ในขณะขายสินค้ากล้องวงจรปิดให้กับลูกค้ารายอื่น ทำให้บุคคลภายนอกเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าที่เคยใช้บริการติดตั้งกล้องวงจรปิด รายอื่น ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก จนเป็นต้นเหตุให้เจ้าของบ้านถูกลักทรัพย์ในเวลาต่อมา ผมในฐานะเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายใน องค์กรของหอการค้าไทยและอีกหลายหน่วยงาน รวมทั้งภาครัฐ ขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดทั้งผลดีและผลเสีย มานำเสนอต่อผู้อ่านมาเป็นเครื่องเตือนใจก่อนใช้ดังนี้
- ความหมายของกล้องวงจรปิด
CCTV = Close Circuit Television ความหมายคือ โทรทัศน์วงจรปิด ความหมายของ "วงจรปิด" มาจากหลักการของไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คือ ไฟฟ้าครบวงจรหรือเปิดอยู่ตลอดเวลา
- ประโยชน์ของกล้องวงจรปิด
- ดูความเคลื่อนไหวคนเข้า-ออก อาคาร สถานที่
- เป็นพยานหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดในชั้นตำรวจหรือชั้นศาล
- เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการป้องกันและป้องปรามอาชญากรรมและการทุจริตภายในองค์กร
- เฝ้าดูพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว เช่น พี่เลี้ยงเด็ก เป็นต้น
- ภัยจากกล้องวงจรปิด
- คนขายอุปกรณ์ ช่างติดตั้งอุปกรณ์วงจรปิด ถ้าไม่สุจริตเก็บรหัสส่วนตัวในการเข้าถึงกล้องวงจรปิดของลูกค้า โดยไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบ หลังจากนั้นไปเข้าถึงข้อมูลวงจรปิดของลูกค้าทางออนไลน์
- การนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปเผยแพร่ให้กับลูกค้ารายอื่นหรือบุคคลภายนอก ให้รู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวภายในอาคาร สถานที่ โดยไม่ได้รับอนุญาต
- มีการนำไปทำซ้ำและไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือได้รับความอับอาย
- มีการนำไปทำซ้ำลงในดีวีดีหรือวีซีดี และนำไปจำหน่ายเป็นหนังเรทเอ็กซ์ เรทอาร์ ตามตลาดมืด เช่น บ้านหม้อ
- การนำรหัสการเข้าถึงข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางทุจริต นำรหัสในการเข้าถึงกล้องวงจรปิดของลูกค้าทางออนไลน์ไปจำหน่ายให้กับพวก มิจฉาชีพ เพื่อเข้าไปขโมยทรัพย์สินของเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของอาคาร สถานที่ ทำให้การลักทรัพย์เป็นไปด้วยความสะดวก
- การเก็บรักษากล้องวงจรปิดหรือฮาร์ดดิสหรือเทอย่างปลอดภัย
- การบันทึกภาพพร้อมเสียงจะต้องจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ยากต่อการเข้าถึงหรือการลักทรัพย์หรือ
ผลประโยชน์หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล
- การลบข้อมูลกล้องวงจรปิด เช่นในอดีตที่ผ่านมามีเรือนจำแห่งหนึ่งได้ทำการลบข้อมูลในฮาร์ดดิส ซึ่งเป็น
พยานหลักฐานสำคัญ ทำให้ไม่สามารถจับตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้
- สถานีตำรวจแห่งหนึ่งมีผู้ต้องหาถูกแขวนคอตายและถูกทำร้ายร่างกายจนน่วม แต่ผู้กำกับการสถานีตำรวจ
แจ้งว่าไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลในห้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ ทำให้ผู้กระทำความผิด ซึ่งอาจเป็นตำรวจหรือผู้ต้องขังด้วยกันรอดพ้นจากการกระทำความผิดไปได้
- ขั้นตอนในการเข้าถึงกล้องวงจรปิด
- ทุกองค์กรต้องมีกฎระเบียบในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความพร้อมในการบันทึกภาพของกล้อง ความมีอยู่ของข้อมูล
- เจ้าของกิจการจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปแก้ไขหรือลบข้อมูลในฮาร์ดดิสได้ ควรจะ
มีระบบ วิธีการในการจัดการเพื่อป้องกันการทำลายหลักฐาน
- การตรวจสอบกล้องตามจุดต่าง ๆ เคยมีคดีทุจริตในองค์กร มีการย้ายตำแหน่งกล้องไปทางอื่น ทำให้ไม่
เห็นเหตุการณ์ขณะมีการทุจริตหรือการลักทรัพย์ ทำให้ผู้กระทำความผิดลอยนวลได้
- การนำข้อมูลในกล้องวงจรปิดไปเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ต้องไม่มีการตัดต่อ แก้ไขข้อมูล มิฉะนั้นไม่
อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่อง การส่งพยานหลักฐานจะต้องส่งไปตามความเป็นจริงเท่านั้น
การนำข้อมูลในกล้องวงจรปิดไปใช้ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 241 สิ่งใดใช้เป็นพยานวัตถุต้องนำมาศาล
ในกรณีที่นำมาไม่ได้ ให้ศาลไปตรวจจดรายงานยังที่ที่พยานวัตถุนั้นอยู่ตามเวลาและวิธีซึ่งศาลเห็นสมควรตามลักษณะแห่งพยานวัตถุ
มาตรา 242 ในระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา สิ่งของซึ่งเป็นพยานวัตถุต้องให้คู่ความหรือพยานตรวจดู
ถ้ามีการแก้ห่อหรือทำลายตรา การห่อหรือตีตราใหม่ให้ทำต่อหน้าคู่ความหรือพยานที่เกี่ยวข้องนั้น