วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

19ปีโครงการไอทีตามพระราชดำริฯ

1020097โครงการมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้ต้องขังให้สามารถออกไปประกอบอาชีพได้หลัง พ้นโทษ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้พ้นโทษสามารถนำความรู้ไอทีไปประกอบอาชีพแล้วหลายราย นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนว่าจ้างผู้ต้องขังจำนวน 78 คน ให้ปฏิบัติงานคอลเซ็นเตอร์ ทำให้มีรายได้ถึงคนละ 11,000 บาทต่อเดือน

ส่วน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อคนพิการ มีการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปช่วยเหลือผู้พิการ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยทำในรูปของกรณีศึกษา มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้พิการในระดับที่รุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีคนพิการที่เป็นกรณีศึกษาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดกว่า 10 ราย

นอก จากนี้ยังมีโครงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการในโรงเรียนศรีสัง วาลย์ โรงเรียนกาวิลละอนุกูล และกลุ่มโรงเรียนโสตศึกษา ตลอดจนนำร่องส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนตาบอดให้สามารถเข้าเรียนในสาขา วิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย

ตัวอย่างความสำเร็จของโครงการฯ ถูกถ่ายทอดและนำมาจัดแสดงในงานสัมมนาและนิทรรศการ “60 พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” ที่ สวทช.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

แพทย์หญิงศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เล่าถึงโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ว่า เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2538 โดยมีโรงพยาบาลนำร่อง 4 โรงพยาบาลคือ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่

ทั้ง 4 โรงพยาบาลมีเด็กป่วยเป็นจำนวนมาก และมีไม่น้อยที่ต้องหยุดเรียนเป็นเวลานาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล” และแนวทางในการใช้ไอซีทีเพื่อให้เด็กได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข

แพทย์ หญิงศิราภรณ์ บอกว่า ต่อมาโครงการได้มีการขยายเครือข่ายไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 26 แห่ง และมีกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น ฝึกอาชีพให้กับผู้ปกครอง และมีการจัดสอบการศึกษานอกโรงเรียนหรือ กศน.ให้กับเด็กป่วยในโรงพยาบาลเด็กเป็นแห่งแรกอีกด้วย ปัจจุบันมีเด็กป่วยที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ประมาณ 5 หมื่นรายต่อปี

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารราชการและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริม พัฒนาคุณภาพ และศักยภาพของผู้ด้อยโอกาส ให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ

และเพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธาน ของพระองค์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมมือกับสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย โดยมี สวทช.ทำหน้าที่ประสานงานหลักในฐานะเลขานุการโครงการฯ

ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. บอกว่า เป็นเวลากว่า 19 ปีของการดำเนินโครงการในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม 4 กลุ่มหลัก คือ เด็กนักเรียนในชนบทห่างไกล ผู้พิการ เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล และผู้ต้องขังรวมถึงเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ

ปัจจุบันมีหน่วยงาน เข้าร่วมสนองพระราชดำริและหน่วยงานในโครงการฯ ประมาณ 537 แห่ง ซึ่งการดำเนินงานแบ่งเป็น 5 ด้านหลัก คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขังในทัณฑสถานและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: 19ปีโครงการไอทีตามพระราชดำริฯ