วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

'จิ้ม' ให้ปลอดภัย

                            abc8ag9a6cccjacjk5djk ราวๆ กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา "โฮเทลส์ ดอทคอม" ซึ่งเป็นเว็บไซต์เพื่อการท่องเที่ยว ได้เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างเวลาเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดพักผ่อน เป็นการสำรวจนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศทั่วโลกผลสำรวจบ่งชี้ว่า คนเอเชียติดโทรศัพท์มือถือมากกว่าชาติอื่นๆ และ “คนไทย” เป็นชาติอันดับ 1 ที่ไม่ต้องการอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ แม้ในเวลาท่องเที่ยวใน รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า ประมาณ 85% ของคนไทยผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะพกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอด แม้แต่ในช่วงเที่ยวพักผ่อน ตามด้วยนักท่องเที่ยวเกาหลีที่มีจำนวนกว่า 78% ปฏิเสธที่จะงดใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวในเวลา ท่องเที่ยว ขณะที่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 3 ด้วยสัดส่วน 69% และมีคนไทยน้อยกว่า 1% เท่านั้นที่รู้สึกเสียใจหรือรู้สึกผิด ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโทรศัพท์ในระหว่างการในส่วนของการใช้งานนั้น พบว่า 64% ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการเช็กอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือ และ 100% ใช้มือถือเพื่อเชื่อมต่อกับโซเชียลเน็ตเวิร์ก


                            เป็นผลสำรวจที่ทำให้หลายคนเงียบสนิทและยอมรับว่า ‘จริง’ เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแบบแยกไม่ออกแล้ว สมาร์ทโฟนไม่ได้มีไว้สำหรับโทรเข้าโทรออก แต่ยังมีไว้เพื่อ “แชท” กับผู้คนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก และเพื่อติดตามทุกเรื่องบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่นับรวมการดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงการอ่านหนังสือที่เป็น “อี-บุ๊ก” ทั้งหลาย


                            ขณะที่หลายคนทำอะไรที่มากกว่านั้น นั่นคือ ทำธุรกรรมทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือกล้องวงจรปิด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสุ่มเสี่ยงไม่น้อย แม้ว่าสถาบันการเงินต่างๆ จะพยายามป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินให้แก่ลูกค้าหลาย ชั้นแล้วก็ตาม


                            ดังนั้น ถ้าเลี่ยงได้ก็น่าเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ แบงก์ก็มีข้อแนะนำเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต นั่นคือ หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นต่างๆ จากแหล่งอื่น นอกเหนือจาก Apple App Store, Google Play Store, Blackberry App World และ Windows Phone Store เท่านั้น หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ (URL) ที่ส่งมากับ SMS, MMS หรืออีเมล หรือหน้าจอ (pop-up) หลอกลวง หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ WiFi สาธารณะเมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน (อันนี้เน้น - โดยเฉพาะในยุคที่เรามี free wifi ทุกที่ แม้กระทั่งรถเมล์และรถแท็กซี่) หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์ที่ได้รับการดัดแปลงระบบ ปฏิบัติการ (jail break สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ root สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์)


                            นอกจากนี้ ยังควรติดตั้งแอพพลิเคชั่นป้องกันไวรัสบนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยเฉพาะที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ รวมถึงตั้งรหัสในการเข้าใช้งานเครื่องโทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์อื่นๆ และระวังการป้อนรหัสลับในที่สาธารณะ ไม่กำหนด Mobile PIN ด้วยตัวเลขเรียงกัน ตัวเลขซ้ำกัน หรือเดาได้ง่าย เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหมายเลข บัตรเครดิต ทะเบียนรถ วันเดือนปีเกิด


                            ไม่กำหนด Password ด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงกัน ซ้ำกัน หรือเดาได้ง่าย เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต ทะเบียนรถ วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุล ชื่อเล่น และกรณีที่กำหนด Password เป็นภาษาอังกฤษ ควรให้มีทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก  สามารถเปลี่ยน Mobile PIN หรือรหัสลับส่วนตัว (Password) ได้บ่อยตามที่ต้องการ และหากส่งอุปกรณ์เข้าซ่อม หรือขายต่อ ให้ลบแอพพลิเคชั่นโมบาย แบงกิ้งออกจากเครื่อง เพื่อความปลอดภัย


                            กรณีโทรศัพท์มือถือสูญหาย ขอให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อระงับการใช้บริการชั่วคราว กรณีเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคาร ขอให้ติดต่อที่สาขาธนาคาร เพื่อแก้ไขข้อมูลการใช้บริการ ธนาคารจะมีการแจ้งผลทางอีเมลแอดเดรสทุกครั้ง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมทั้งการโอนเงิน และการชำระค่าสินค้าและบริการ โดยจะส่งไปยังอีเมลแอดเดรสที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคารตั้งแต่ตอนสมัครใช้ บริการ หากท่านไม่ได้เป็นผู้ทำรายการ ควรรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที


                            คำแนะนำทั้งหมดที่ยกมา เป็นคำแนะนำของธนาคารกรุงเทพ ที่แจ้งเตือนสำหรับลูกค้าบัวหลวง เอ็มแบงกิ้ง ของธนาคาร


                            มี 2 ข้อที่เป็นไฮไลท์ คือ หนึ่ง - หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ WiFi สาธารณะเมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน และสอง - ระวังการป้อนรหัสลับในที่สาธารณะ โดยเฉพาะข้อสองที่อันตรายมาก เพราะระหว่างที่เราก้มๆ เงยๆ กับโทรศัพท์ในมือ เราไม่รู้เลยว่า ใครจับจ้องการป้อนรหัสลับของเราอยู่บ้าง อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันได้หากจำเป็นจริงๆ ก็คือ กระจกกันรอยหรือไพรเวซี่ กลาส (Privacy Glass) ที่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว


                            “กิตติพงศ์ กิตติภัสสร” ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บมจ.ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น บอกว่า ความพิเศษของทีดับบลิวแซด ไพรเวซี่ กลาส อยู่ที่กระจกกันรอยดังกล่าวจะป้องกันการมองเห็นจากคนข้างๆ อย่างรอบทิศทาง ด้วยการบังคับการตกกระทบและการหักเหของแสง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นหน้าจอโทรศัพท์มือถือจะอยู่ในระดับ 30 องศาจากจุดกึ่งกลางของหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือล่าง ด้านซ้ายหรือขวา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่ถือโทรศัพท์เท่านั้นที่จะมองเห็นหน้าจอโทรศัพท์


                            “ใครที่เคยรู้สึกอึดอัด ต้องคอยระแวงระวังคนข้างๆ โดยเฉพาะเมื่อเราใช้จำเป็นต้องโทรศัพท์ในที่สาธารณะ ในรถไฟฟ้าที่เต็มไปด้วยผู้คน ในธนาคารพาณิชย์ หรือในสถานที่อื่นที่ปริมาณคนคับคั่ง ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ซึ่งนอกจากจะป้องกันการมองเห็นเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือแล้ว ทีดับบลิวแซด ไพรเวซี่ กลาส ยังป้องกันการสะท้อน ป้องกันรอยขีดข่วน และป้องกันรอยนิ้วอีกด้วย”


                            ดูเหมือนทีดับบลิวแซด ไพรเวซี่ กลาส กระจกกันรอยเพิ่มความเป็นส่วนตัว จะช่วยให้การป้อนรหัสลับ หรือการจิ้มโทรศัพท์มือถือเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินปลอดภัยขึ้น แต่มีข้อจำกัด 2 ข้อที่คนที่สนใจต้องยอมรับ นั่นคือ หนึ่ง - หาซื้อได้ที่ช็อปทีดับบลิวแซด และสอง - ณ เวลานี้ เขาทำมาเฉพาะไอโฟน 6 และไอโฟน 6 พลัสเท่านั้น

แหล่งที่มา  :  คมชัดลึก

Source: 'จิ้ม' ให้ปลอดภัย